ผู้เขียน หัวข้อ: ตรวจโรค: คอหอยอักเสบ (Pharyngitis) ทอนซิลอักเสบ (Tonsillitis)  (อ่าน 16 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 886
  • โพสขายฟรี รองรับseo, โพสฟรี ติดgoogle ,ลงประกาศขายฟรี
    • ดูรายละเอียด
ตรวจโรค: คอหอยอักเสบ (Pharyngitis) ทอนซิลอักเสบ (Tonsillitis)
« เมื่อ: วันที่ 27 มีนาคม 2024, 11:03:00 น. »
การอักเสบของคอหอยและทอนซิล มักทำให้เกิดอาการเจ็บคอเป็นสำคัญ และเกิดจากสาเหตุได้หลากหลาย ซึ่งมีทั้งกลุ่มโรคติดเชื้อและกลุ่มโรคไม่ติดเชื้อ (ตรวจอาการ เจ็บคอ ประกอบ)

ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะการอักเสบจากโรคติดเชื้อ ซึ่งเกิดจากไวรัสและแบคทีเรียเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทอนซิลอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า บีตาฮีโมไลติกสเตรปโตค็อกคัสกลุ่มเอ (group A betahemolytic Streptococcus)* ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงได้

* เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Streptococcus pyogenes


สาเหตุ

ส่วนใหญ่เกิดจากไวรัสที่ทำให้เกิดไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ รวมทั้งไวรัสอื่น ๆ อีกหลายชนิด บางส่วนเกิดจากเชื้อแบคทีเรียซึ่งมีอยู่หลายชนิด เชื้อมีอยู่ในน้ำลายและเสมหะของผู้ป่วย ติดต่อโดยการหายใจสูดเอาฝอยละอองเสมหะที่ผู้ป่วยไอหรือจามรด หรือโดยการสัมผัสมือผู้ป่วย สิ่งของ หรือสิ่งแวดล้อมที่แปดเปื้อนเชื้อแบบเดียวกับไข้หวัด

เชื้อแบคทีเรียที่สำคัญ คือ บีตาฮีโมไลติกสเตรปโตค็อกคัสกลุ่มเอ ก่อให้เกิดทอนซิลอักเสบชนิดเป็นหนอง (exudative tonsillitis) ซึ่งพบได้บ่อยในเด็กอายุ 5-15 ปี และอาจพบในผู้ใหญ่เป็นครั้งคราว แต่จะพบได้น้อยในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี โรคนี้อาจติดต่อในกลุ่มคนที่อยู่ร่วมกันอย่างใกล้ชิดเป็นเวลานาน เช่น ตามโรงเรียน หอพัก เป็นต้น

ระยะฟักตัว 2-7 วัน


อาการ

กลุ่มที่มีสาเหตุจากไวรัส จะมีอาการเจ็บคอเล็กน้อยถึงปานกลาง แต่ไม่เจ็บตอนกลืน อาจมีอาการเป็นหวัด น้ำมูกใส ไอ เสียงแหบ มีไข้ ปวดศีรษะเล็กน้อย ตาแดง บางรายอาจมีอาการท้องเดินหรือถ่ายเหลวร่วมด้วย

ผู้ป่วยที่เป็นทอนซิลอักเสบจากบีตาฮีโมไลติกสเตรปโตค็อกคัสกลุ่มเอ จะมีอาการไข้สูงเกิดขึ้นฉับพลัน หนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร เจ็บคอมากจนกลืนน้ำและอาหารลำบาก อาจมีอาการปวดร้าวไปที่หู บางรายอาจมีอาการปวดท้องหรืออาเจียนร่วมด้วย มักจะไม่มีอาการน้ำมูกไหล ไอ หรือตาแดงแบบการอักเสบจากไวรัส


ภาวะแทรกซ้อน

กลุ่มที่มีสาเหตุจากไวรัส ส่วนใหญ่จะไม่มีภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง ส่วนผู้ที่เป็นไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ก็อาจมีภาวะแทรกซ้อน เช่น ไซนัสอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ เป็นต้น

ผู้ป่วยที่เป็นทอนซิลอักเสบจากบีตาฮีโมไลติกสเตรปโตค็อกคัสกลุ่มเอ อาจมีภาวะแทรกซ้อน ดังนี้

1. เชื้ออาจลุกลามไปยังบริเวณใกล้เคียงทำให้หูชั้นกลางอักเสบ ต่อมน้ำเหลืองที่คออักเสบ จมูกอักเสบ ไซนัสอักเสบ ปอดอักเสบ ฝีทอนซิล (peritonsillar abscess) ซึ่งอาจโตจนทำให้กลืนลำบากหรือหายใจลำบาก

2. เชื้ออาจแพร่เข้ากระแสเลือด ทำให้เป็นข้ออักเสบชนิดติดเชื้อเฉียบพลัน กระดูกอักเสบเป็นหนอง (osteomyelitis) เยื่อหุ้มสมองอักเสบ

3. โรคแทรกซ้อนที่สำคัญ คือ ไข้รูมาติก และ หน่วยไตอักเสบเฉียบพลัน ซึ่งมักเกิดหลังทอนซิลอักเสบ 1-4 สัปดาห์ โรคแทรกซ้อนเหล่านี้เกิดจากปฏิกิริยาภูมิต้านตนเอง (autoimmune reaction) สำหรับไข้รูมาติกมีโอกาสเกิดขึ้นประมาณร้อยละ 0.3-3 ของผู้ที่ไม่ได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะอย่างถูกต้อง


การวินิจฉัย

แพทย์จะวินิจฉัยจากอาการ ประวัติการเจ็บป่วย และการตรวจร่างกายเป็นหลัก ซึ่งมีสิ่งตรวจพบ ดังนี้

กลุ่มที่มีสาเหตุจากไวรัส อาจมีไข้หรือไม่มีไข้ก็ได้ ผนังคอหอยอาจมีลักษณะแดงเพียงเล็กน้อยหรือไม่ชัดเจน ทอนซิลอาจโตเล็กน้อยซึ่งมักจะมีลักษณะแดงเพียงเล็กน้อยหรือไม่ชัดเจน อาจพบมีน้ำมูกใส ตาแดง (เยื่อตาขาวอักเสบ)

ผู้ป่วยที่เป็นทอนซิลอักเสบจากบีตาฮีโมไลติกสเตรปโตค็อกคัสกลุ่มเอ จะมีไข้มากกว่า 38.3 องศาเซลเซียส ผนังคอหอยหรือเพดานอ่อนมีลักษณะแดงจัดและบวม ทอนซิลบวมโต มีสีแดงจัด และมักมีแผ่นหรือจุดหนองขาว ๆ เหลือง ๆ อยู่บนทอนซิล ซึ่งเขี่ยออกง่าย (ถ้าพบเป็นแผ่นเยื่อสีเทาหรือสีเหลืองปนเทา ซึ่งเขี่ยออกยากและมีเลือดออก ควรนึกถึงคอตีบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีอาการไอเสียงแหบ หรือหายใจหอบร่วมด้วย) นอกจากนี้อาจพบต่อมน้ำเหลืองที่ข้างคอด้านหน้าหรือใต้ขากรรไกรบวมโตและเจ็บ

ในรายที่ไม่มั่นใจว่าเกิดจากบีตาฮีโมไลติกสเตรปโตค็อกคัสกลุ่มเอ เช่น มีเพียงแผ่นหรือจุดหนองบนทอนซิล (ซึ่งอาจเกิดจากไวรัสบางชนิดก็ได้) โดยอาการอื่น ๆ ไม่ชัดเจน อาจต้องส่งตรวจพิเศษเพิ่มเติม ในปัจจุบันมีการตรวจหาเชื้อบีตาฮีโมไลติกสเตรปโตค็อกคัสกลุ่มเอจากบริเวณคอหอยและทอนซิล ซึ่งสามารถทราบผลภายในไม่กี่นาที เรียกว่า "Rapid strep test" ถ้าให้ผลบวกก็ให้ยาปฏิชีวนะรักษา แต่ถ้าให้ผลลบอาจต้องทำการเพาะเชื้อ ซึ่งจะทราบผลภายใน 1-2 วัน


การรักษาโดยแพทย์

แพทย์จะให้การดูแลรักษาดังนี้

1. แนะนำให้ผู้ป่วยพักผ่อน ดื่มน้ำมาก ๆ และใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวเวลามีไข้สูง ควรให้ผู้ป่วยกินอาหารอ่อน เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก น้ำซุป นม น้ำหวาน ควรกลั้วคอด้วยน้ำเกลือ (ผสมเกลือป่นประมาณ 1 ช้อนชา หรือ 5 มล. ในน้ำอุ่น 1 แก้ว) วันละ 2-3 ครั้ง ถ้าเจ็บคอมากให้ดื่มน้ำเย็นหรือเครื่องดื่มเย็น ๆ หรืออมก้อนน้ำแข็ง

2. ในรายที่เกิดจากไวรัส (ซึ่งจะมีอาการคอหอยและทอนซิลแดงไม่มาก และมักมีอาการน้ำมูกใส ไอ ตาแดง เสียงแหบ หรือท้องเดินร่วมด้วย) ให้การรักษาตามอาการ เช่น ให้ยาลดไข้พาราเซตามอล ยาแก้ไอ โดยไม่ต้องให้ยาปฏิชีวนะ ก็มักจะหายได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์

3. ในรายที่มั่นใจว่าเกิดจากบีตาฮีโมไลติกสเตรปโตค็อกคัสกลุ่มเอ (ซึ่งจะมีอาการไข้สูงร่วมกับทอนซิลบวมแดงจัด และมีแผ่นหรือจุดหนอง มีต่อมน้ำเหลืองที่บริเวณใต้ขากรรไกรหรือข้างคอด้านหน้า และไม่มีอาการน้ำมูกไหล ไอ ตาแดง) นอกจากให้การรักษาตามอาการแล้ว แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะ (เช่น เพนิซิลลินวี, อะม็อกซีซิลลิน, อีริโทรไมซิน หรือ ร็อกซิโทรไมซิน) นาน 10 วัน บางรายแพทย์อาจให้ยาปฏิชีวนะชนิดกินเพียง 5 วัน เช่น โคอะม็อกซิคลาฟ, อะซิโทรไมซิน หรือ คลาริโทรไมซิน

4. ถ้ามีอาการแทรกซ้อน เช่น หอบ ปวดและบวมตามข้อ เป็นฝีทอนซิล แพทย์จะทำการตรวจเพิ่มเติมและให้การรักษาตามสาเหตุที่ตรวจพบ

5. ในรายที่เป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรัง (ปีละมากกว่า 4 ครั้ง) จนเสียงานหรือหยุดเรียนบ่อย มีอาการอักเสบของหูชั้นกลางบ่อย หรือก้อนทอนซิลโตจนอุดกั้นทางเดินหายใจ อาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัดทอนซิล (tonsillectomy)

ผลการรักษา ถ้าเกิดจากเชื้อไวรัส ให้การรักษาตามอาการมักจะหายได้ภายใน 1 สัปดาห์

ถ้าเกิดจากบีตาฮีโมไลติกสเตรปโตค็อกคัสกลุ่มเอ เมื่อกินยาปฏิชีวนะได้ครบตามที่แพทย์แนะนำ ก็มักจะหายได้ภายใน 1-2 สัปดาห์ ถ้ากินไม่ครบหรือได้รับการรักษาไม่ถูกต้อง ก็อาจมีภาวะแทรกซ้อนตามมา ซึ่งหากกลายเป็นหน่วยไตอักเสบเฉียบพลัน หรือไข้รูมาติก ก็อาจเป็นเรื้อรังหรือมีภาวะร้ายแรงได้


การดูแลตนเอง

หากมีอาการไข้ร่วมกับเจ็บคอมาก ควรปรึกษาแพทย์

เมื่อตรวจพบว่าเป็นทอนซิลอักเสบ ควรดูแลรักษาและปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์ ดังนี้

    พักผ่อน ดื่มน้ำมาก ๆ ห้ามอาบน้ำเย็น และใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวเวลามีไข้สูง
    กินอาหารอ่อน เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก น้ำซุป นม น้ำหวาน
    กลั้วคอด้วยน้ำเกลือ (ผสมเกลือป่นประมาณ 1 ช้อนชา หรือ 5 มล. ในน้ำอุ่น 1 แก้ว) วันละ 2-3 ครั้ง
    ถ้าเจ็บคอมากให้ดื่มน้ำเย็นหรือเครื่องดื่มเย็น ๆ หรืออมก้อนน้ำแข็ง
    กินยาบรรเทาตามอาการ (เช่น ยาลดไข้) และกินยาปฏิชีวนะ (ในรายที่แพทย์วินิจฉัยว่าเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย) ให้ครบตามระยะเวลาที่แพทย์กำหนด
    ติดตามการรักษาตามที่แพทย์นัด


ควรกลับไปพบแพทย์ หากมีลักษณะข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อนี้ 

    มีอาการผิดสังเกตแทรกซ้อนตามมา เช่น ปวดศีรษะมาก ซึม ไม่ค่อยรู้สึกตัว ชัก ปวดหู หูอื้อ กลืนลำบาก ปวดที่โหนกแก้มหรือหัวคิ้ว หายใจหอบ เหนื่อยง่าย เจ็บหน้าอก ปวดบวมตามข้อ มีผื่นขึ้นตามตัว เท้าบวม ปัสสาวะสีแดง เป็นต้น
    ดูแลรักษา 3-4 วันแล้ว อาการไม่ดีขึ้น
    หลังกินยา มีลมพิษ ผื่นคัน ตุ่มพุพอง ตาบวม ปากบวม คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ

การป้องกัน

เมื่อมีคนใกล้ชิดป่วยเป็นคอหอยหรือทอนซิลอักเสบ ควรปฏิบัติเช่นเดียวกับไข้หวัด เช่น ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการไอหรือจามรดผู้อื่น คนที่ยังไม่ป่วยอย่าอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย อย่าใช้ของใช้ร่วมกับผู้ป่วย และหมั่นล้างมือด้วยน้ำกับสบู่ เป็นต้น


ข้อแนะนำ

1. อาการเจ็บคอ คอหอยอักเสบ ส่วนใหญ่มักมีสาเหตุจากการติดเชื้อไวรัส และโรคไม่ติดเชื้อ (เช่น โรคภูมิแพ้ การระคายเคือง โรคน้ำกรดไหลย้อน เป็นต้น) ซึ่งไม่จำเป็นต้องให้ยาปฏิชีวนะ ดังนั้น ถ้าพบคนที่มีอาการเจ็บคอ แพทย์จะซักถามอาการอย่างละเอียด และตรวจดูคอหอยทุกรายเพื่อแยกแยะสาเหตุให้ชัดเจน จะใช้ยาปฏิชีวนะต่อเมื่อมั่นใจว่าเป็นทอนซิลอักเสบจากบีตาฮีโมไลติกสเตรปโตค็อกคัสกลุ่มเอเท่านั้น หากไม่มั่นใจก็จะส่งตรวจพิเศษ (เช่น การตรวจหาเชื้อด้วยวิธี rapid strep test, การเพาะเชื้อ)

2. สำหรับทอนซิลอักเสบจากบีตาฮีโมไลติกสเตรปโตค็อกคัสกลุ่มเอ ควรเน้นให้กินยาปฏิชีวนะจนครบตามระยะที่กำหนดตามที่แพทย์แนะนำ ถึงแม้หลังให้ยาไป 2-3 วันแล้วอาการเริ่มทุเลาแล้วก็ตาม หากให้ไม่ครบนอกจากทำให้โรคกำเริบได้บ่อยแล้วยังอาจเกิดโรคแทรกซ้อน ได้แก่ ไข้รูมาติก และหน่วยไตอักเสบเฉียบพลัน ซึ่งแม้จะพบได้น้อยแต่ก็เป็นภาวะที่มีอันตรายร้ายแรง

ผู้ป่วยควรแยกตัว อย่าอยู่ใกล้ชิดผู้อื่น จนกว่าจะให้ยาปฏิชีวนะไปแล้วอย่างน้อย 24 ชั่วโมง จึงจะไม่แพร่เชื้อให้คนอื่น

ในปัจจุบันการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างถูกต้องมักได้ผลดี โอกาสที่จะต้องรักษาด้วยการผ่าตัดทอนซิลจึงลดน้อยลงกว่าแต่ก่อนมาก

3. ถ้าให้ยาปฏิชีวนะรักษาทอนซิลอักเสบแล้วไม่ดีขึ้น อาจเกิดจากสาเหตุอื่น รวมทั้งเมลิออยโดซิส ซึ่งพบบ่อยในคนอีสานที่มีประวัติเป็นโรคเบาหวาน (ดูเมลิออยโดซิส)

4. ถ้าอยู่ในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคโควิด-19 หรือมีประวัติสัมผัสผู้ป่วยโรคนี้ หากมีอาการที่สงสัยว่าจะเป็นโรคนี้ (เช่น ไข้ เจ็บคอ เสียงแหบ น้ำมูกไหล ไอ ท้องเดิน หายใจเหนื่อยหอบ) หรือทำการตรวจหาเชื้อด้วยชุดตรวจแอนติเจน (ATK) ด้วยตนเองให้ผลเป็นบวก ควรปรึกษาแพทย์โดยเร็ว



ตรวจโรค: คอหอยอักเสบ (Pharyngitis) ทอนซิลอักเสบ (Tonsillitis) อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://doctorathome.com/symptom-checker

 














































รวมเว็บลงประกาศฟรี ล่าสุด
รวมเว็บประกาศฟรี
โพสต์ขายของฟรี
ลงโฆษณาสินค้าฟรี
โฆษณาฟรี
ประกาศฟรี
เว็บฟรีไม่จำกัด
ทำ SEO ติด Google
ลงประกาศขาย
เว็บฟรียอดนิยม
โพสโฆษณา
ประกาศขายของ
ประกาศหางาน
บริการ แนะนำเว็บ
ลงประกาศ
รวมเว็บประกาศฟรี
รวมเว็บซื้อขาย ใช้งานง่าย
ลงประกาศฟรี ทุกจังหวัด
ต้องการขาย
ปล่อยเช่า บ้าน คอนโด ที่ดิน
ขายบ้าน คอนโด ที่ดิน
ประกาศฟรี ไม่มี หมดอายุ
เว็บประกาศฟรี ติดอันดับ
ฝากร้านฟรี โพ ส ฟรี
ลงประกาศฟรี กรุงเทพ
ลงประกาศฟรี ทั่วไทย
ลงประกาศโฆษณาฟรี
ลงประกาศฟรี 2023
รวมเว็บลงประกาศฟรี

รวม SMFขายสินค้า
ประกาศฟรีออนไลน์
ลงประกาศ สินค้า
เว็บบอร์ด โพสต์ฟรี
ลงประกาศ ซื้อ-ขาย ฟรี
ชุมชนคนไอทีขายสินค้า
ลงประกาศฟรีใหม่ๆ 2023
โปรโมทธุรกิจฟรี
โปรโมทสินค้าฟรี
แจกฟรี รายชื่อเว็บลงประกาศฟรี
โปรโมท Social
โปรโมท youtube
แจกฟรี รายชื่อเว็บ
แจกฟรีโพสเว็บบอร์ดsmf
เว็บบอร์ดsmfโพสฟรี
รายชื่อเว็บบอร์ดขายสินค้าฟรี
ลงประกาศฟรี เว็บบอร์ด
เว็บบอร์ดขายสินค้าฟรี
ฟรี เว็บบอร์ด แรงๆ
โพสขายสินค้าตรงกลุ่มเป้าหมาย
โฆษณาเลื่อนประกาศได้
ขายของออนไลน์
แนะนำ 6 วิธีขายของออนไลน์
อยากขายของออนไลน์
เริ่มต้นขายของออนไลน์
ขายของออนไลน์ เริ่มยังไง
ชี้ช่องขายของออนไลน์
การขายของออนไลน์
สร้างเว็บฟรีประกาศ

smf โพสฟรี
smf ขายของออนไลน์อะไรดี
smf โพสฟรี
อยากขายของออนไลน์ smf
ขายของออนไลน์ยังไงให้มีคนซื้อ
smf เริ่มต้นขายของออนไลน์
ไอ เดีย การขายของออนไลน์
เว็บขายของออนไลน์
เริ่ม ขายของออนไลน์ โพสฟรี
smf ขายของออนไลน์ที่ไหนดี
เทคนิคการโพสต์ขายของ
smf โพสต์ขายของให้ยอดขายปัง
โพสต์ขายของให้ยอดขายปังโพสฟรี
smf ขายของในกลุ่มซื้อขายสินค้า
โพสขายของยังไงให้มีคนซื้อ
smf โพสขายของแบบไหนดี
โพสฟรีแคปชั่นโพสขายของยังไงให้ปัง
smf แคปชั่นแม่ค้าออนไลน์
แคปชั่นแม่ค้าออนไลน์ โพสฟรี
ขายของให้ออร์เดอร์เข้ารัว ๆ
smf โพสต์เรียกลูกค้า
โพสต์เรียกลูกค้าโพสฟรี
smf ขายของออนไลน์ให้ปัง
smf โพสต์ขายของ
smf เขียนโพสขายของโดนๆ
แคปชั่นเปิดร้าน โพสฟรี
smf วิธีโพสขายของให้น่าสนใจ
วิธีเพิ่มยอดขาย โพสฟรี
smf เทคนิคเพิ่มยอดขาย

เพิ่มยอดขายให้เข้าเป้า
เว็บบอร์ดฟรี
โปรโมทฟรี
มีลูกค้าเพิ่ม - YouTube
ผลักดันยอดขายโปรโมทฟรี
โปรโมทผลักดันยอดขาย
โปรโมทแผนการเพิ่มยอดขายให้ได้ผล
โปรโมทวิธีการวางแผนการเพิ่มยอดขาย
ยอดขายไม่ดีควรทำอย่างไร
ยอดขายตกเกิดจากอะไร
ทำไมต้องเพิ่มยอดขาย
ขายฟรี
ยอดการขาย คืออะไร
กลยุทธ์เพิ่มยอดขาย
โพสฟรีการกระตุ้นยอดขาย
โปรโมทกระตุ้นยอดขาย
โปรโมทฟรีออนไลน์กระตุ้นยอดขาย
ประกาศฟรีเพิ่มยอดขาย
ลงประกาศเพิ่มยอดขาย
ฝากร้านฟรีเพิ่มยอดขาย
ลงประกาศฟรีใหม่ ๆ เพิ่มยอดขาย
เว็บประกาศฟรีเพิ่มยอดขาย
Post ฟรี
ประกาศขายของฟรี
ประกาศฟรี
โพส SEO
ลงโฆษณาฟรี
โปรโมทเพจร้านค้า