ผู้เขียน หัวข้อ: ฟุตบอลโลก 2022: กกท. เผยหาก ฟีฟ่า ไม่ยอมลดราคา คนไทยอาจพลาดชมฟุตบอลโลก  (อ่าน 164 ครั้ง)

BETGAME123

  • บุคคลทั่วไป
นายก้องศักด ยอดมณี ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการเจรจากับตัวแทนสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (ฟีฟ่า) จนถึงวันนี้ (14 พ.ย.) ว่ายังคงรอคำตอบ หลังจากขอให้ฟีฟ่าพิจารณาทบทวนลดราคาลงในราคาที่เหมาะสม

ในขณะเดียวกัน กกท. ก็พยายามหาสปอนเซอร์ให้ได้มากที่สุด โดยล่าสุดมีภาคเอกชนหลายรายที่ได้ยืนยันให้การสนับสนุนมาแล้ว แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดต่าง ๆ ได้

"ต้องรอความชัดเจนก่อน คงจะไม่ตกลง หากเป็นราคา 1,600 ล้านบาท เพราะเป็นราคาที่มากเกินควรในสายตาของพี่น้องประชาชน ในสายตาของการกีฬา(แห่งประเทศไทย)ด้วย ที่เมื่อเทียบกับลิขสิทธิ์ประเทศเพื่อนบ้านที่ได้ซื้อไป" นายก้องศักด กล่าว

หาก กสทช.จ่าย 1.6 พันล้านบาทให้คนไทยชมฟุตบอลโลก จะคุ้มค่าหรือไม่
เหตุใดไทยอาจจะเป็นชาติเดียวในอาเซียนที่พลาดชมฟุตบอลโลก 2022
14 ปีที่รอคอยกับการชนะน็อคของ "บัวขาว" ในนัดล้างตากับ "ซาโตะ"
เจ้าชายโมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน และกองทุนเพื่อความมั่งคั่งของซาอุดีอาระเบีย เจ้าของทีมนิวคาสเซิลรายใหม่
เมื่อผู้สื่อข่าวสอบถามว่า หากฟีฟ่าไม่ยอมพิจารณาตามการต่อรองของทางการไทยจะเกิดอะไรขึ้น นายก้องศักด ตอบว่า ต้องทำความเข้าใจกับพี่น้องประชาชนว่า ภาครัฐได้พยายามถึงที่สุดแล้ว แต่ถ้ายื่นราคาที่สูงเกินไปเราก็รับไม่ได้ คงต้องยอมรับว่า ครั้งนี้คงไม่มีการถ่ายทอดสด ถ้าการผ่อนผันของฟีฟ่าไม่เกิดขึ้น แต่ก็หวังว่าจะมีทางออกที่ดีร่วมกัน

ทั้งนี้ สื่อมวลชนหลายสำนักรายงานว่า งบประมาณจากภาคเอกชน กกท. ขอรับการสนับสนุนไป มีตอบรับแล้ว 3 ราย ประกอบด้วย บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น, บมจ. ไทยเบฟเวอเรจ และ บมจ. ปตท. คาดให้เงินสนับสนุนราว 400-500 ล้านบาท

โลโก้Getty Images
คนไทยจะได้ชมฟุตบอลโลก 2022 รอบสุดท้ายหรือไม่
1,600 ล้านบาท
ค่าลิขสิทธิ์ที่ต้องจ่าย

กสทช. สนับสนุน 600 ล้านบาท

เอกชนสนับสนุน (ทรู คอร์ปอเรชั่น, ไทยเบฟเวอเรจ, ปตท.)400 ล้านบาท

ต้องการงบประมาณอีก 600 ล้านบาท

ฟีฟ่าขีดเส้นตาย 18 พ.ย. นี้



ที่มา: บีบีซีไทยรวบรวม
นายก้องศักด ให้สัมภาษณ์เรื่องนี้ภายหลังการลงนามบันทึกข้อตกลงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการซื้อลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลก (รอบสุดท้าย) 2022 หลังจากที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. มีมติเสียงข้างมากอนุมัติเงินกองทุน กทปส. จำนวน 600 ล้านบาท ให้ การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก 2022 รอบสุดท้าย

นายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รักษาการแทนเลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า ที่ประชุม กสทช. เมื่อวันที่ 9 พ.ย. โดยกรรมการเสียงข้างมาก โดยให้คณะกรรมการบริหารกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กองทุน กทปส.)

"กสทช. โดยกรรมการเสียงข้างมาก อนุมัติเงินจากกองทุน กทปส. 600 ล้านบาท (รวมภาษีและอากรอื่นใด)เพื่อให้คนไทยทุกคนสามารถรับชมการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก 2022 ทั้ง 64 นัด ผ่านฟรีทีวีทุกแพลตฟอร์ม เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของคนพิการ ผู้มีรายได้น้อย และคนด้อยโอกาสให้เข้าถึงหรือรับรู้และใช้ประโยชน์จากรายการของกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ได้อย่างเสมอภาคกับบุคคลทั่วไป" นายไตรรัตน์ กล่าว

สำหรับรายนามของ กรรมการเสียงข้างมาก ได้แก่ นพ. สรณ บุญใบประธาน กสทช./พลอากาศโท ธนพันธุ์ หร่ายเจริญ, นายต่อพงศ์ เสลานนท์, และพล.ต.อ. ณัฐธร เพราะสุนทร กรรมการ กสทช.

ส่วนกรรมการเสียงข้างน้อย 2 เสียง ที่ไม่เห็นด้วย คือ ศ.ดร. พิรงรอง รามสูต กรรมการ กสทช. ด้านกิจการโทรทัศน์ และนายศุภัช ศุภชลาศัย กรรมการกสทช. ด้านเศรษฐศาสตร์ โดยให้เหตุผลว่า การซื้อลิขสิทธิ์ไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ และน่าจะมีเงินจากส่วนอื่นมาสนับสนุนได้

กระแสกดดัน กสทช. ทุกทิศทาง
บอร์ด กสทช. ประชุมหารือเรื่องนี้ เกิดขึ้นท่ามกลางกระแสสังคมต่อต้านจากสังคมอย่างหนัก

ด้านฝ่ายการเมือง น.ส. ศิริกัญญา ตันสกุล รองหัวหน้าพรรคก้าวไกล แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า หาก บอร์ด กสทช. อนุมัติให้เงินงบประมาณจากกองทุนพัฒนาและวิจัยด้านสื่อฯ ถือว่าเป็นการบิดเบือนกฎหมายเพราะ กสทช. ไม่มีอำนาจ และหากเป็นเช่นนั้นเธอจะยื่นเดินทางไปหนังสือ ปปช. เพื่อฟ้อง กสทช. เสียงข้างมากที่ดำเนินการดังกล่าว

"สิ่งที่คาดหวังจากการประชุม กสทช. วันนี้ คือ การปลดล็อกกฎระเบียบอย่าง กฎมัสแฮฟ และ กฎมัสแคร์รี ที่จะเปิดโอกาสให้เอกชนสามารถประมูลลิขสิทธิ์การถ่ายทอดฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายโดยเสรีและนำมาสร้างประโยชน์ทางธุรกิจได้" เธอกล่าว

"นับเป็นการสูญเสียเงินจำนวนมากที่ควรใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะไปกับการถ่ายทอดสดเฉพาะฟุตบอลโลก 2022 ในระยะเวลา 1 เดือนเท่านั้น" รศ. ดร. ปรีดา
(8 พ.ย.) นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชนอิสระนำโดย รศ.ดร. ปรีดา อัครจันทโชติ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ได้ออกแถลงการณ์ในฐานะภาควิชาการร่วมกับคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และประชาสังคม แสดงเจตจำนงคัดค้านการที่ กสทช. จะนำเงินกองทุนพัฒนาสื่อของ กสทช. ไปใช้สนับสนุนการซื้อลิขสิทธิถ่ายทอดสดการแข่งขันกีฬาฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย

ขณะที่ตัวแทนสมาคมโทรทัศน์ ระบบดิจิตอล (ประเทศไทย) นำโดยนายสุภาพ คลี่ขจาย เดินทางมาเพื่อพบกับ กสทช. โดยระบุว่า กสทช. เชิญมาให้ความเห็น แต่ทางสมาคมฯ ได้ประชุมคณะทำงานชุดเล็ก เมื่อ 8 พ.ย. ยืนยันว่า ไม่เห็นด้วยที่จะนำงบประมาณจาก กองทุน กทปส. สนับสนุนการซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย

สำหรับเหตุผลที่เดินทางเข้าพบบอร์ด กสทช. ในช่วงเช้าวันนี้ นายสุภาพอธิบายว่า ในฐานะที่กลุ่มผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล และเป็นเจ้าของเงินรายได้ที่ต้องนำส่งให้ กสทช. ไม่ต้องการให้ กสทช. นำเงินดังกล่าวไปใช้ในการซื้อลิขสิทธิ์กีฬาดังกล่าว เนื่องจากผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลยังต้องถือใบอนุญาตต่อไปอีก 7 ปี และยังคงมีความจำเป็นต้องใช้งบประมาณดังกล่าวเพื่อใช้ในการพัฒนาและวิจัยสำหรับอุตสาหกรรมทีวีดิจิทัล หากว่า กสทช. นำเงินดังกล่าวไปแล้ว จะส่งผลกระทบต่อการส่งเสริมและวิจัยพัฒนาอุตสาหกรรมในอนาคตได้

อย่างไรก็ตาม สมาคมโทรทัศน์ ระบบดิจิตอล (ประเทศไทย) เรียกร้องให้หาแหล่งทุนอื่นแทน เพื่อให้มีการถ่ายทอดฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย ซึ่งเห็นว่าคนไทยควรได้รับชม

นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชนอิสระนำโดย รศ.ดร. ปรีดา อัครจันทโชติ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ได้ออกแถลงการณ์ในฐานะภาควิชาการร่วมกับคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และประชาสังคม แสดงเจตจำนงคัดค้านการที่ กสทช. จะนำเงินกองทุนพัฒนาสื่อของ กสทช. ไปใช้สนับสนุนการซื้อลิขสิทธิถ่ายทอดสดการแข่งขันกีฬาฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย เพราะไม่เข้าข่ายตามวัตถุประสงค์ของกองทุนและยังส่งผลต่อสภาพคล่องของเงินทุนในการทำประโยชน์ในกิจการที่เกี่ยวข้องในอนาคตอีกด้วย

กสทช. เผยข้อกังวลทางกฎหมาย หากอนุมัติงบฯ
หนึ่งวันก่อนการประชุม กสทช. ศ. ดร. พิรงรอง รามสูต กสทช. ด้านกิจการโทรทัศน์ ได้โพสต์แสดงความคิดเห็นและตั้งประเด็นชวนคิด 6 ประเด็นกรณีใช้เงินกองทุน กทปส. ซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอดฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายทางเฟซบุ๊กส่วนตัว โดยมีสาระสำคัญที่น่าสนใจดังนี้

การใช้เงินกองทุนเพื่อซื้อเนื้อหาจากบริษัทเอกชนมาเผยแพร่ไม่ใช่หน้าที่ขององค์กรกำกับดูแล เพราะฟุตบอลโลกเป็นรายการที่มีมูลค่าทางธุรกิจและควรจะเป็นการลงทุนตามกลไกตลาด หากจะต้องอุดหนุนรายการควรจะเป็นในกรณีที่ต้องการตอบสนองวัตถุประสงค์เฉพาะอันไม่สามารถเกิดขึ้นได้หากไม่มีการอุดหนุน เช่น รายการที่ส่งเสริมวัฒนธรรมท้องถิ่น รายการสำหรับชนกลุ่มน้อย เป็นต้น

ทีวีดิจิทัล
ที่มาของภาพ,FACEBOOK/DIGITAL TV (NBTC)
ขณะเดียวกัน เธอยังเห็นว่า กฎมัสแฮฟ และกฎมัสแคร์รี่ มีส่วนทำให้การซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอดรายการตามที่ระบุ มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น เช่น กรณีผู้ให้บริการแบบบอกรับสมาชิก อาจจะมีแรงจูงใจลดลง เนื่องจากเมื่อได้สิทธิมาก็ไม่สามารถนำมาแสวงหารายได้ในเชิงพาณิชย์จากการแพร่ภาพเฉพาะในช่องทีวีแบบบอกรับสมาชิกได้

ในการประชุมครั้งนี้ทำให้ กสทช. จำเป็นที่จะต้องเร่งทบทวนผลดี ผลเสียของการบังคับใช้กฎ Must Have และ Must Carry ให้สอดคล้องกับบริบททางอุตสาหกรรม เศรษฐกิจ และเทคโนโลยี ที่เปลี่ยนแปลงไปเพื่อลดผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมและสังคมต่อไป

หวั่นกองทุน กทปส. ขาดสภาพคล่อง
ศ.ดร. พิรงรองยังชี้ประเด็นสำคัญที่คาดว่าอาจจะเกิดขึ้นว่า การใช้เงินจำนวน 1.6 พันล้านบาท เพื่อซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก ส่งกระทบสภาพคล่องของกองทุน กทปส. และอาจส่งผลให้เกิดภาวะสุญญากาศในการสร้างองค์ความรู้ การพัฒนาบุคลากรในกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์หรือกิจการโทรคมนาคม ตลอดจนการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ควรจะได้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง เพื่อรับมือกับสภาวะดิจิทัลดิสรัปชั่นที่ส่งผลต่อวงการการสื่อสารของประเทศอย่างกว้างขวาง

ขณะที่ในการแถลงการณ์ของคณบดี คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ได้แสดงความกังวลเรื่องนี้เช่นกัน โดยอ้างถึงมติที่ประชุมคณะกรรมการบริการกองทุน กทปส. ครั้งที่ 4/2565 เมื่อวันที่ 28 เม.ย. 2565 ได้ระบุสถานะเงินคงเหลือของกองทุน กทปส. บัญชีที่ 1 (รวมเงินประมูลคลื่นทีวีดิจิทัลและเงินทั่วไป) คงเหลือ 3,435.07 ล้านบาท ส่วนบัญชีที่ 2 คงเหลือ 804.27 ล้านบาท

โลโก้
ขณะที่จากการรายงานข่าวของสำนักข่าวอิศรา เมื่อวันที่ 3 พ.ย. ระบุข้อมูลจากแหล่งข่าวใน กสทช.ว่า ปัจจุบัน สถานะเงินคงเหลือของกองทุน กทปส. ที่สามารถนำมาใช้กับกรณีนี้ได้ คงเหลือประมาณ 2,000 กว่าล้านบาทเท่านั้น

นอกจากนี้ กสทช. ด้านกิจการโทรทัศน์รายนี้ยังตั้งคำถามถึงผลประโยชน์ที่จะได้รับกลับคืนมายังกองทุน กทปส. ถ้า กสทช. จัดสรรเงินตามคำขอของการกีฬาแห่งประเทศไทยซึ่งมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับช่องทีวีดิจิทัล T Sports หมายเลข 7 ในครั้งนี้ ก็จะเป็นการเข้าไปแทรกแซงตลาด ซึ่งขัดกับหลักการแข่งขันที่เสรีและเป็นธรรมที่องค์กรกำกับดูแลมีหน้าที่ต้องยึดถือปฏิบัติตามกฎหมาย

"อีกทั้งยังไม่มีความชัดเจนด้วยว่า หาก กสทช. ตัดสินใจสนับสนุนทางการเงินในครั้งนี้ การจัดการเรื่องการออกอากาศและการแบ่งผลประโยชน์ทางธุรกิจจะทำอย่างไร และการโอนผลประโยชน์ทางธุรกิจจากสิทธิในการถ่ายทอดกลับมาทดแทนเงินสนับสนุนที่ได้จากกองทุน กทปส.จะทำได้หรือไม่ อย่างไร" เธอตั้งคำถาม

คนไทยสนใจกีฬาฟุตบอลราว 62% ของประชากร
กระแสความนิยมกีฬาของคนไทยถือว่ายังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องแม้ว่าที่ผ่านมาจะเกิดการระบาดของโรคโควิด-19 บริษัทวิจัยชั้นนำจากต่างประเทศ นีลเส็น เปิดเผยข้อมูลที่จัดทำขึ้นพิเศษสำหรับเผยแพร่กับบีบีซีไทยว่า โดยข้อมูลบอกกีฬาที่คนไทยติดตามมากที่สุดของปี 2565 คือ กีฬาฟุตบอล จากการสำรวจในกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ 16-69 ปี คิดเป็น 62% ของคนไทยทั้งประเทศ หรือ 31.9 ล้านคน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2565 ราว 7%

นักฟุตบอล
สำหรับช่องทางในการรับชมกีฬาของคนไทยมีการเปลี่ยนแปลงไปครับ ในปีนี้ ช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ (Social media) เป็นอันดับ 1 ส่วนรายรายการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายยังคงครองใจคนไทย ฝ่ายประชาสัมพันธ์ของนีลเส็นบอกว่าเทศกาลฟุตบอลโลกที่กำลังจะถึงกลุ่มธุรกิจคาดว่าจะมีควา คึกคักขึ้นแน่นอน เพราะช่วงกีฬาใหญ่แห่งปี แบรนด์ต่าง ๆ จะมีการอัดโฆษณาสูงมาก จากข้อมูลที่จัดเก็บของนีลเส็น พบว่า มีคนไทยกว่า 59% ที่ชื่นชอบและรอการติดตามของรายการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย ซึ่งเป็นรายการที่ได้รับคะแนนสูงสุดในหมวดกีฬา อุตสาหกรรมที่เข้ามาร่วมในตลาดจะเริ่มขยายตัวมากขึ้น เดิมที่จะเป็นบริษัทเครื่องดื่ม หรือแอลกอฮอล

นอกจากนี้ถ้าในแง่ของเรตติ้ง นีลเส็นมองว่าช่องที่จะได้ถ่ายทอดสดจะได้รับเรตติ้งสูงสุดอย่างแน่นอน เพราะช่วงนี้รายการถ่ายทอดสดกีฬามาแรง โดยจากข้อมูลจากการวัดความนิยมรายการโทรทัศน์ข้ามแพลตฟอร์มสื่อ (Cross platform ratings) ที่มีการวัดเรตติ้งทั้งจากทีวีและผู้ชมทางช่องทางดิจิทัล ในช่วงเดือน ส.ค.-ต.ค. ที่ผ่านมาพบว่า รายการที่ได้รับเรตติ้งสูงสุดคือ การแข่งขันวอลเล่บอลชิงแชมป์โลก

ติดตามช่องทางอื่นๆ:https://bit.ly/ballworldcup2022
Website : https://linktr.ee/sports123s
ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก : ข่าวบีบีซีไทย

 















































รวมเว็บลงประกาศฟรี ล่าสุด
รวมเว็บประกาศฟรี
โพสต์ขายของฟรี
ลงโฆษณาสินค้าฟรี
โฆษณาฟรี
ประกาศฟรี
เว็บฟรีไม่จำกัด
ทำ SEO ติด Google
ลงประกาศขาย
เว็บฟรียอดนิยม
โพสโฆษณา
ประกาศขายของ
ประกาศหางาน
บริการ แนะนำเว็บ
ลงประกาศ
รวมเว็บประกาศฟรี
รวมเว็บซื้อขาย ใช้งานง่าย
ลงประกาศฟรี ทุกจังหวัด
ต้องการขาย
ปล่อยเช่า บ้าน คอนโด ที่ดิน
ขายบ้าน คอนโด ที่ดิน
ประกาศฟรี ไม่มี หมดอายุ
เว็บประกาศฟรี ติดอันดับ
ฝากร้านฟรี โพ ส ฟรี
ลงประกาศฟรี กรุงเทพ
ลงประกาศฟรี ทั่วไทย
ลงประกาศโฆษณาฟรี
ลงประกาศฟรี 2023
รวมเว็บลงประกาศฟรี

รวม SMFขายสินค้า
ประกาศฟรีออนไลน์
ลงประกาศ สินค้า
เว็บบอร์ด โพสต์ฟรี
ลงประกาศ ซื้อ-ขาย ฟรี
ชุมชนคนไอทีขายสินค้า
ลงประกาศฟรีใหม่ๆ 2023
โปรโมทธุรกิจฟรี
โปรโมทสินค้าฟรี
แจกฟรี รายชื่อเว็บลงประกาศฟรี
โปรโมท Social
โปรโมท youtube
แจกฟรี รายชื่อเว็บ
แจกฟรีโพสเว็บบอร์ดsmf
เว็บบอร์ดsmfโพสฟรี
รายชื่อเว็บบอร์ดขายสินค้าฟรี
ลงประกาศฟรี เว็บบอร์ด
เว็บบอร์ดขายสินค้าฟรี
ฟรี เว็บบอร์ด แรงๆ
โพสขายสินค้าตรงกลุ่มเป้าหมาย
โฆษณาเลื่อนประกาศได้
ขายของออนไลน์
แนะนำ 6 วิธีขายของออนไลน์
อยากขายของออนไลน์
เริ่มต้นขายของออนไลน์
ขายของออนไลน์ เริ่มยังไง
ชี้ช่องขายของออนไลน์
การขายของออนไลน์
สร้างเว็บฟรีประกาศ

smf โพสฟรี
smf ขายของออนไลน์อะไรดี
smf โพสฟรี
อยากขายของออนไลน์ smf
ขายของออนไลน์ยังไงให้มีคนซื้อ
smf เริ่มต้นขายของออนไลน์
ไอ เดีย การขายของออนไลน์
เว็บขายของออนไลน์
เริ่ม ขายของออนไลน์ โพสฟรี
smf ขายของออนไลน์ที่ไหนดี
เทคนิคการโพสต์ขายของ
smf โพสต์ขายของให้ยอดขายปัง
โพสต์ขายของให้ยอดขายปังโพสฟรี
smf ขายของในกลุ่มซื้อขายสินค้า
โพสขายของยังไงให้มีคนซื้อ
smf โพสขายของแบบไหนดี
โพสฟรีแคปชั่นโพสขายของยังไงให้ปัง
smf แคปชั่นแม่ค้าออนไลน์
แคปชั่นแม่ค้าออนไลน์ โพสฟรี
ขายของให้ออร์เดอร์เข้ารัว ๆ
smf โพสต์เรียกลูกค้า
โพสต์เรียกลูกค้าโพสฟรี
smf ขายของออนไลน์ให้ปัง
smf โพสต์ขายของ
smf เขียนโพสขายของโดนๆ
แคปชั่นเปิดร้าน โพสฟรี
smf วิธีโพสขายของให้น่าสนใจ
วิธีเพิ่มยอดขาย โพสฟรี
smf เทคนิคเพิ่มยอดขาย

เพิ่มยอดขายให้เข้าเป้า
เว็บบอร์ดฟรี
โปรโมทฟรี
มีลูกค้าเพิ่ม - YouTube
ผลักดันยอดขายโปรโมทฟรี
โปรโมทผลักดันยอดขาย
โปรโมทแผนการเพิ่มยอดขายให้ได้ผล
โปรโมทวิธีการวางแผนการเพิ่มยอดขาย
ยอดขายไม่ดีควรทำอย่างไร
ยอดขายตกเกิดจากอะไร
ทำไมต้องเพิ่มยอดขาย
ขายฟรี
ยอดการขาย คืออะไร
กลยุทธ์เพิ่มยอดขาย
โพสฟรีการกระตุ้นยอดขาย
โปรโมทกระตุ้นยอดขาย
โปรโมทฟรีออนไลน์กระตุ้นยอดขาย
ประกาศฟรีเพิ่มยอดขาย
ลงประกาศเพิ่มยอดขาย
ฝากร้านฟรีเพิ่มยอดขาย
ลงประกาศฟรีใหม่ ๆ เพิ่มยอดขาย
เว็บประกาศฟรีเพิ่มยอดขาย
Post ฟรี
ประกาศขายของฟรี
ประกาศฟรี
โพส SEO
ลงโฆษณาฟรี
โปรโมทเพจร้านค้า